[UX Writer Diary] ภาษา วัฒนธรรม ตัวตน ดีไซน์

Mai Kanapornchai
2 min readMar 31, 2022

ขณะที่นั่งอ่านอะไรเพลินๆในอินเตอร์เน็ต ก็ไปเจอคอร์สออนไลน์เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมฟรีจาก University Of Leeds เลยตัดสินใจลงทะเบียนเรียนไป เรียนไปเรียนมา เห้ย! นี่มันภาควิชาในคณะอักษรที่ส่งกลับเข้ากรุไปแล้วนี่นา! ไหนๆก็เรียนใหม่ล่ะ ขอจดโน้ตมาแชร์เป็นบทความอ่านเพลินๆเลยล่ะกันค่ะ

(เรียนผ่านมาได้สักพักแล้ว ดันกลับไปหาลิงก์คอร์สไม่เจอ ขออภัย แต่เดี๋ยวแปะคอร์สที่มหาลัยนี้ offer ไว้ด้านล่างให้แทนนะคะ)

ภาษา และ วัฒนธรรม มันมีความสำคัญยังไง?

แน่นอนว่าภาษาเป็นสิ่งที่เราใช้สื่อสาร ทั้งในรูปแบบพูด อ่าน เขียน กันในชีวิตประจำวัน และอีกมุมนึง ภาษาก็เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงตัวตนของเราด้วย หลายๆคนอาจจะไม่เข้าใจว่า ภาษาสะท้อนถึงตัวตนได้ยังไงหรอ? ตัวตนมันก็ต้องเรื่องความชอบ ไลฟ์สไตล์มากกว่าสิ

อ่ะ เรื่องนั้นก็ใช่เหมือนกันล่ะ แต่วันนี้เราลองมาดูในมุมภาษาศาสตร์ บนทฤษฏี “Theory of Signs” ของนักภาษาศาสตร์นามว่า Ferdinand De Saussure คนนี้กันค่ะ (ชื่อเป็นความลำบากในการสะกดเวลาเขียนข้อสอบมาก T-T แต่วันนี้เราถามกูเกิ้ลมาให้คุณแล้ว อ่านว่า โซว-เซอ)

https://www.britannica.com/biography/Ferdinand-de-Saussure

โอเค กลับเข้าเรื่องกันต่อ

“…language as a system of sign, and besides language, there are many other sign systems…”

คุณ Saussure เค้ามีหลักการว่า ภาษาเป็นระบบของสัญลักษณ์ แปลก็คือ ภาษาถูกสื่อสารโดยใช้ 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่มีตัวตน (ตัวอักษร, การออกเสียง,ไอคอน) และองค์ประกอบความคิด (ก็คือ คอนเซ็ปต์ หรือ mental model)

https://the1knowledge.blogspot.com/2017/05/signifier-and-signified.html

เรียกเท่ๆ แบบนักภาษาศาสตร์ว่า ‘Sign’ , ‘signifier’ และ ‘signified’

ยกตัวอย่างง่ายๆ

เราเห็นน้องหมาเดินดุ๊กดิ๊กมา น้องหมาคือ (sign ) การออกเสียงคำว่า หมา คือ signifier พอเพื่อนชาวไทยที่เดินตามหลังมาได้ยินคำนี้ปุ๊ปก็คิดถึงสัตว์สี่เท้าแสนน่ารักขึ้นมาทันที ซึ่งเจ้าความคิดนี้จะเรียกว่า signified

คิดถึงน้องตัวไหนกันเอ่ยย?

ซึ่ง signified นี้มันอาจรวมถึงคอนเซ็ปต์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้ด้วยนะ อย่าง ความซื่อสัตย์ ความน่ารัก ความเป็นเพื่อน และหางอันดุ๊กดิ๊กของน้อง เพราะฉะนั้นการออกเสียง 1 คำ ก็อาจเชื่อมโยงได้หลายคอนเซ็ปต์ความคิด ซึ่งก็จะแปรผันตามวัฒนธรรมที่เราอยู่นั้นเอง

ลองนึกภาพตาม ผลส้มลูกนึง ถ้ามองในมุมคนไทย กับมุมคนจีน ก็อาจจะมีคอนเซ้ปต์ผลไม้ชนิดนี้ต่างกันสักหน่อย อย่างคนไทยก็อาจจะคิดว่าเป็นผลไม้ที่อร่อยดีนะ หวานๆ แต่คนจีนก็จะมีเรื่องโลคลาภ ความมงคลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ไม้ลองไปหาความหมายของส้มมานิดหน่อย ส้มนั้นหลายเป็นผลไม้มงคลเพราะว่า ส้ม ในภาษาจีนนั้นมีคำว่า 橘 (จวี๋) ซึ่งออกเสียงคล้ายกับคำว่า 吉 (จี๋) ที่แปลว่า สิริมงคล แถมสียังสวยเหมือนทองคำอีกด้วย นั้นทำให้ส้มในวัฒนธรรมจีนนั้นนั้นมีคอนเซ็ปต์ที่เชื่อมโยงกับความมั่งมีเป็นศิริมงคลนั้นเอง

เริ่มเห็นความเชื่อมโยงของภาษา ความคิด สังคมที่เราเติบโต กับตัวตนเรากันมั้ยเอ่ย?

อิทธิพลของภาษาต่อความคิด ‘Linguistic Relativity’

จากที่เราเรียนรู้แล้วว่า ภาษาเกิดจากการที่เรามองสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เหตุการณ์ในชีวิต สิ่งของ สัตว์ นั้นแปลว่าการที่เราจะพูดคำออกมาคำนึง ก็เป็นการสะท้อนสิ่งที่เราคิดอยู่ในหัวออกมา

นั้นแปลว่า ภาษาสะท้อนสิ่งที่เราคิดนั้นเอง และคนที่ใช้ภาษาเดียวกันก็มักจะมีความคิดที่คล้ายคลึงกัน ภาษาจะสะท้อนถึงสังคม ค่านิยม วัฒนธรรม ที่แตกต่างในแต่ละที่ดั่งที่ทฤษฏี ‘linguistic relativity’ ของนักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกัน Benjamin Lee Whorf กล่าวไว้ว่า ลักษณะภาษานั้นมีอิทธิพลต่อมุมมองความคิดของเจ้าของภาษา ก็เพราะว่าการใช้ภาษาถูกกรั่นกรองออกมาจากความคิดเรา

ฟังดูเข้าใจยาก ลองคิดในแง่ที่ว่า การเลือกใช้คำศัพท์ต่างๆในชีวิตของเรานั้น มักจะสะท้อนสิ่งรอบตัวเรา อย่างเช่น เรามักใช้คำว่า ‘ช้างเท้าหน้า’ แทนผู้นำของบ้าน และมักจะเชื่อมโยงกับผู้ชายซะส่วนใหญ่ เพราะสมัยก่อน ผู้ชายเป็นคนทำงานหาเงิน (ถึงแม้ในปัจจุบัน มักจะใช้กับผู้หญิงได้ด้วยเช่นกัน) และสุภาษิตไทยก็มักจะเปรียบกับสัตว์อย่าง ช้าง ม้า วัว ควาย เพราะประเทศเรามีสัตว์ชนิดนี้อยู่

“ This stated that the structure of a language shapes the way that a speaker of that language thinks.”

ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สื่อถึงสังคม ค่านิยม วัฒนธรรม ที่แตกต่างในแต่ละที่ เพราะเราอาจจะให้ค่านิยมที่ไม่เหมือนกัน มันเลยมี “untranslatable words” ซึ่งเป็นคำที่แปลเป็นภาษาอื่นไม่ได้ขึ้นมา อย่างคำว่า ‘เกรงใจ’ ที่ก็ไม่รู้จะแปลเป็นภาษาอังกฤษว่าอะไร เพราะภาษาอังกฤษเค้าไม่มี คอนเซ็ปต์เรื่องของความเกรงใจ แต่มีคอนเซ็ปต์ที่คล้ายคลึงกันแทน เช่น คำที่ใกล้เคียงอย่าง ‘considerate’ หรือ ‘thoughtful’ แต่คำพวกนี้ก็ใกล้กับคอนเซ็ปต์ของกับคำว่า ‘เอาใจเขามาใส่ใจเรา’ ในภาษาไทยมากกว่า

โดยเฉพาะสำนวนภาษาต่างๆ ที่แต่ละประเทศมีการเปรียบเทียบไม่เหมือนกัน อย่าง มุกตลกที่เราฟังของต่างชาติไม่เข้าใจ อย่างวันหนึ่งไม้ได้ไปงานขายหนังสือมือ 2 และเจอหนังสือมุกตลกของ Scotland เล่มนึง หนังสือน่ารักมาก พลิกๆ อ่านดูไปหลายหน้า ก็ยังไม่เข้าใจสักทีว่าตลกยังไง และต่างชาติเองก็ไม่เข้าใจมุกเอาถาดตีหัวของเราเช่นกัน

สุดท้ายนี้ ทฤษฎีเหล่านี้ก็ยังปรับใช้ในมุมของการดีไซน์ได้อีกด้วย

Jacon Nielson เจ้าพ่อแห่งวงการ User Experience เองก็เคยพูดถึงเรื่องของ signifier ในหนังสือชื่อว่า The Design of Everyday Things แต่จำกัดความให้ลึกลงไปในสายดีไซน์มากขึ้น

For me, the term signifier refers to any mark or sound, any perceivable indicator that communicates appropriate behavior to a person.

Signifier อาจเป็นเครื่องหมายหรือเสียงที่สื่อสารกับผู้ใช้ว่าควรต้องทำยังไงต่อ interaction กับสิ่งของเหล่านี้ยังไง อย่างไอคอนเองก็กลายเป็นอีกนึง signifier ที่สำคัญบนหน้าจอ interface เช่น เมื่อนึกถึงไอคอนถังขยะก็จะไปเชื่อมโยงถึงการลบ ซึ่งก็ต้องขอบคุณเทคโนโลยีมันพัฒนาได้รวดเร็วและมีราคาถูกลง จนทำให้หลายๆ คนทั่วมุมโลกสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้เท่าเทียมกันมากขึ้น ทำให้ “ภาษาดีไซน์” อย่างไอคอน และ interactions นั้นสามารถเข้าใจได้เป็นวงกว้างมากขึ้น เรียกว่าเป็นอีกนึงภาษาสากลเลยก็ว่าได้

นั้นแปลว่า แม้จะพูดกันคนละภาษา แต่ในมุมใดมุมหนึ่ง พวกเราเองก็มีตัวตนของ ‘digital citizen’ ที่เหมือนกันอยู่นะ 🤓

Mai Kana

source

--

--

Mai Kanapornchai

A Content Strategist. Interested in Culture, People, and Design in general. Working in the digital field assisting content and UX team.